กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554



ตอบ ข้อ 3

อธิบายข้อมูล

วิธีนี้เป็นการนำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้ว หรือวัสดุที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต กลับมาผ่านกระบานการแปรรูป

เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น นำขวดแก้วมาบดแล้วหลอม เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถูดิบในการผลิตขวดเเก้วใหม่เพื่อการนำบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมมาหลอม เพื่อนำกลับไป ผลิตตใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย



แหล่งที่มา http://www.phiboon.myokhost.com/News/waste.pdf


ตอบ ข้อ1

อธิบายข้อมูล



ยกตัวอย่าง เช่น
น้ำแข็ง เอาวางไว้ในห้อง คุณว่า มันดูด (หรือ) คายความร้อน กันแน่

ก่อนจะตอบ
ลองเอามือจับน้ำแข็งดูซิ คุณรู้สึกว่าน้ำแข็งนั้นเย็น (จริงไหม)
ความจริงที่เรารู้สึกว่าเย็น ก็เพราะ มือได้สูญเสียความร้อนไปให้น้ำแข็ง
คงตอบได้แล้วนะว่า ถ้าวางไว้ในห้อง
น้ำแข็ง จะดูดความร้อนเข้ามาหาตัวมันเอง เมื่อมันดูดความร้อนเข้ามา
สิ่งรอบข้างที่ถูกน้ำแข็งดูดความร้อนไป ความร้อนในตัวมันก็จะลดลง

เหมือนอย่างหน้าหนาว เรารู้สึกหนาว เพราะร่างกายสูญเสียความร้อน ให้กับ อากาศในห้อง
- อากาศเย็น ดูดความร้อนจากเราไป
- ตัวเรา คายความร้อนให้อากาศเย็น

สมมุติเอาน้ำแข็ง มากองไว้เต็มห้อง
มันก็จะดูดความร้อนเข้าตัวมันไปเรื่อยๆ
ความร้อน ของอากาศ (ในห้อง) ก็หายไปอยู่ในน้ำแข็งแทน
เมื่อความร้อนหายไป หรือความร้อนลดลง ก็ทำให้อุณหภูมิในห้องลดลงด้วย

จะเห็นว่า
- น้ำแข็ง ดูดความร้อนเข้ามา
- อากาศในห้อง คายความร้อนให้น้ำแข็ง

มาดูช่องฟรีซ (ในตู้เย็นกันบ้าง)
สมมุติเราเอาน้ำใส่ขัน มาเข้าช่องฟรีซ
น้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าในช่องฟรีซ
ความร้อนในน้ำ จะถ่ายเทไปให้อากาศที่อยู่ในช่องฟรีซนั้น
- อากาศในช่องฟรีซ ดูดความร้อนจากน้ำในขัน
- น้ำในขัน คายความร้อนให้กับ อากาศในช่องฟรีซ

แต่ในช่องฟรีซ เขามีสารทำความเย็นที่วิ่งไปที่อุปกรณ์ (ต่างๆ)
สารนี้เอง ก็จะดูดความร้อนจากอากาศในช่องฟรีซนั้นอีกที
- อากาศในช่องฟรีซ คายความร้อนให้กับสารทำความเย็น
- สารทำความเย็น ดูดความร้อนจากอากาศในช่องฟรีซ

เมื่อสารทำความเย็นวิ่งไปหลังตู้เย็น
(เขาก็มีวิธีทำให้สารทำความเย็นเอากลับไปดึงความร้อนได้อีก)
ด้วยการ ทำให้สารนี้มันมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศภายนอก
เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว มันก็คายความร้อนให้กับอากาศภายนอกตู้เย็น

(ไปลองดูด้านหลังตู้เย็น มันจะร้อน)
- สารทำความเย็นที่ร้อนกว่าอากาศ คายความร้อนให้กับอากาศ
- อากาศนอกตู้เย็น ดูดความร้อนจากสารทำความเย็น




แหล่งที่มา http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=9361&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=&sid=1fa2bb9f5399b475d294462de2372e54





ตอบ ข้อ4

อธิบายข้อมูล



ปฏิกิริยาเคมี


ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงานตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่นเมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้


K = โพแทสเซียม

HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)

KCl = โพแทสเซียมคลอไรด์

H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้


Na = โซเดียมHCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)

NaCl = โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง)

H2 = ไฮโดรเจน

แต่ถ้าเปลี่ยนสารตั้งต้นของปฏิกิริยาจากกรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นน้ำ (H2O) สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้น เป็นผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยา ได้ดังนี้

Mg = แมกนีเซียม

H2O = น้ำ

Mg(OH)2 = แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์

H2 = ไฮโดรเจน

เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Na = โซเดียม


H2O = น้ำ

NaOH = โซเดียมไฮดรอกไซด์

H2 = ไฮโดรเจน
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้

Ca = แคลเซียม

H2O = น้ำ

Ca(OH)2 = แคลเซียมไฮดรอกไซด์

H2 = ไฮโดรเจน

ประเภทของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีจำแนกได้ 3 ประเภทดังนี้

1. ปฏิกิริยาการรวมตัว (combination) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวมตัวของสารโมเลกุลเล็กรวมกันเป็นสารโมเลกุลใหญ่ หรือเกิดจากการรวมตัวของธาตุซึ่งจะได้สารประกอบ ดังเช่น

2. ปฏิกิริยาการแยกสลาย (decomposition) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการแยกสลายของสารโมเลกุลใหญ่ให้ได้สารโมเลกุลเล็กลง ดังเช่น

3. ปฏิกิริยาการแทนที่ (replacement) เป็นปฏิกิริยาการแทนที่ของสารหนึ่งเข้าไปแทนที่อีกสารหนึ่ง ดังเช่น





ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึงสิ่งที่จะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ได้แก่
1. ความเข้มข้น สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าสารละลายที่เจือจาง
2. พื้นที่ผิว ของแข็งที่มีพื้นที่ผิวมากกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่า
3. อุณหภูมิ ที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจะเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
4. ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือตัวคะตะลิสต์ (catalyst) เป็นสารชนิดต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น


แหล่งที่มา http://chem-palm.blogspot.com/2009/08/blog-post.html





ตอบ ข้อ2

อธิบายข้อมูล

วิธีการทดลอง การเกิดปฏิกิริยาระหว่าโลหะแมกนีเซียมกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก

1. นำหลอดทดลองขนาดกลาง 1 หลอดมาทำเครื่องหมายบนข้างหลอดเป็นระยะเท่า ๆ กันประมาณ 1 cm ให้ขีดที่อยู่ใกล้ก้นหลอดเป็นขีดศูนย์

2. นำจุกยางขนาดพอดีกับหลอดทดลองมาบากตามแนวด้านข้างให้เป็นร่องเล็ก ๆ พอที่ของเหลวจะไหลอกได้ และกรีดกลางจุกยางให้เป็นแนวเล็ก ๆ สำหรับเสียบลวดแมกนีเซียม

3. นำลวดแมกนีเซียมที่ขัดสะอาดแล้วยาวประมาณ 10 cm มาขดให้คล้ายสปริงแล้วเสียบไว้ที่จุกยางตรงรอยกรีด

4. รินสารละลายกรดไฮโดรคลอริก 0.2 mol/dm3 ใส่จนเต็มหลอดทดลอง ปิดด้วยจุกยางที่ลวดแมกนีเซียมเสียบอยู่ คว่ำหลอดทดลองลงในบีกเกอร์ 100 cm3 ซึ่งใส่น้ำไว้ประมาณ 50 cm3

5. เริ่มจับเวลาตั้งแต่สารละลายในหลอดทดลองลดลงมาอยู่ที่ขีดศูนย์ โดยจับเวลาที่เกิดก๊าซไฮโดรเจนทุก ๆ 1 ขีดบอกปริมาตรเรื่อยไปจนถึงขีดก่อนที่ลวดแมกนีเซียมจะโผล่พ้นสารละลายกรด บันทึกผล



แหล่งที่มา

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/nongkhai/kudbongphittayakarn/p04.htm









ตอบ ข้อ4


อธิบายข้อมูล





ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี



แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%9B






ตอบ ข้อ1


อธิบายข้อมูล



เลขมวล (mass number, A), หรือ เลขมวลอะตอม หรือ เลขนิวคลีออน เป็นผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน (โปรตอนและนิวตรอมเรียกรวมกันว่านิวคลีออน) ในนิวเคลียสอะตอม เพราะโปรตอนและนิวตรอนต่างก็เป็นแบริออน เลขมวล A ก็คือเลขแบริออน B ของนิวเคลียสของอะตอมหรือไอออน เลขมวลจะต่างกันถ้าเป็นไอโซโทปที่ต่างกันของธาตุเคมี เลขมวลไม่เหมือนกับเลขอะตอม (Z) ที่แสดงถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสและสามารถใช้ระบุบธาตุได้ ดังนั้นค่าที่ต่างกันระหว่างเลขมวลและเลขอะตอมจะบ่งบอกถึงจำนวนนิวตรอน (N) ในนิวเคลียส: N=A−Z[1]

เลขมวลจะถูกเขียนอยู่ด้ายหลังหรือมุมบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ เช่น ไอโซปโทปปกติของคาร์บอนคือ คาร์บอน-12 หรือ 12C ซึ่งมี 6 โปรตรอนและ 6 นิวตรอน สัญลักษณ์ไอโซปแบบเต็มรูปแบบจะมีเลขอะตอม (Z) ด้วยอยู่ด้านล่างซ้ายมือของสัญลักษณ์ธาตุ: 6C[2] ซึ่งวิธีนี้ไม่มีความจำเป็นนักจึงนิยมละเลขอะตอมไว้

ตัวอย่าง: การสลายในธรรมชาติของคาร์บอน-14จะแผ่รังสีเบต้า ด้วยวิธีนิวตรอนหนึ่งตัวถูกทำให้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นโปรตอนกับการปล่อยพลังงานของอิเล็กตรอนและอนุภาคต้าน ดังนั้นเลขอะตอมจะเพิ่มขึ้น 1 (Z: 6→7) และเลขมวลมีค่าเท่าเดิม (A = 14) ขณะที่เลขนิวตรอนลดลง 1 (n: 8→7)[3] อะตอมผลลัพธ์เป็นอะตอมไนโตรเจน-14ซึ่งมี 7 โปรตอนและ 7 นิวตรอน:

6C → 7N + e- + ve
ยูเรเนียม-238ปกติจะสลายให้รังสีแอลฟาซึ่งนิวเคลียสเสีย 2 นิวตรอนและ 2 โปรตรอนในรูปแบบของอนุภาคแอลฟา ดังนั้นเลขอะตอมและเลขนิวตรอนจะลดลงไป 2 (Z: 92→90, n: 146→144) ซึ่งเลขมวลจะลดไป 4 (A = 238→234) อะตอมผลลัพธ์เป็นอะตอมทอเรียม-234 และอนุภาคแอลฟา (2He2+):[4]

92U → 90Th + 2He2+

แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5










ตอบ ข้อ3


อธิบายข้อมูล


ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน

เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี



แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5








ตอบ ข้อ2


อธิบายข้อมูล



. อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับ
พลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7 2. ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2 เมื่อ n = เลขชั้น เลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7 ตัวอย่าง จำนวน e- ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 12 = 2x1 = 2 จำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 42 = 2x16 = 32 3. ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวน e-ได้ ไม่เกิน ดังนี้ ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว เขียนเป็น s2 p6 d10 f14 แหล่งที่มา http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/atommodel100.html ตอบ ข้อ1 อธิบายข้อมูล สารประกอบ (Compound) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเป็นองค์ประกอบ ซึ่งมารวมตัวกันโดยวิธีการทางเคมี สามารถแยกสลายให้เกิดเป็นสารใหม่หรือกลับคืนเป็นธาตุเดิมได้ ลักษณะทั่วไปของสารประกอบ สารประกอบแต่ละชนิดมีสมบัติที่แตกต่างกันไป สารประกอบมีสมบัติแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงจากสมบัติของธาตุเดิมที่เป็นองค์ประกอบ สารประกอบเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคมูลฐานภายในอะตอม เพื่อให้อยู่ในสภาพที่เสถียร สารประกอบชนิดหนึ่งๆ จะต้องมีอัตราส่วนของธาตุที่เป็นองค์ประกอบคงที่ สารประกอบมีทั้งสถานะที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เช่น ของแข็ง => กลูโคส (C6H12O6), หินปูน (CaCo3), สนิมเหล็ก (Fe2O3) และปูนขาว (CaO) เป็นต้น
ของเหลว => น้ำ (H2O), เอธานอล (C2H5OH) และอะซิโตน (CH3COCH3) เป็นต้น
ก๊าซ => คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเธน (CH4) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นต้น

แหล่งที่มา http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_11.html


ตอบข้อ1

อธิบายข้อมูล
สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม
ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม(mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง(brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์(aluminium gallium arsenide) หรือ ซ็อกโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้
ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้นๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound)

แหล่งที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A






ตอบ ข้อ3

อธิบายข้อมูล

ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษ: radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้

รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902
ด้วยเหตุนี้นี่เอง ทำให้ผู้ค้นพบได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้

Conrad Röntgen ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ. 1901
Pierre, Marie Curie ได้รับรางวัลเหรียญเดวี่จากราชบัณฑิตยสภาแห่งสหราชอาณาจักร ปี ค.ศ. 1903
Pierre, Marie Curie และ Henri Becquerel ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปี ค.ศ. 1903
Mme Curie ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี ค.ศ. 1911
ส่วนรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (4 2He) มี p+ และ n อย่างละ 2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ
รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก
รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน

แหล่งที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5

2 ความคิดเห็น:

  1. 1. ทำครบตามที่กำหนด
    2. มีเฉลยครบทุกข้อ
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล
    4.วิเคราะห์ สืบค้น

    รวม คะแนน ทำครบทุกอย่าง ให้ 100 เต็ม

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ26 มกราคม 2554 เวลา 00:38

    ตรวจงานท้ายชั่วโมง

    ตอบลบ